ทุกคนรู้กันไหมว่า.. ภาคการเกษตรในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายในหลากหลายด้าน ทั้งเรื่องอายุของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการการเกษตรที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รวมถึงการแข่งขันในตลาดในเรื่องของราคา ซึ่งมีอัตราแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีต และเมื่อความต้องการของอาหารโลกเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะจึงเป็นนวัตกรรมทางการเกษตรรูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล
สิ่งที่น่ากังวลใจ ? เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรไทย
ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ” และมีอัตราแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานวิจัยปี 2565 พบว่า มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด
จากผลการวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2559 พบว่า อายุเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรคือ 56 ปี และอีกเกือบครึ่งหนึ่งของครัวเรือนในฟาร์มเกษตรของประเทศไทยแล้วนั้นเป็นเกษตรกรสูงอายุ ซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาจเกิดปัญหาผู้สูงอายุ ทำให้ขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของฟาร์มและอุตหกรรมการเกษตรไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า
นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ผู้ประกอบการเกษตรหรือเกษตรควรหันมาศึกษาการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาช่วยเหลือในการทำอุตสากรรมการเกษตร

ซึ่งองค์กรสหประชาชาติ (UN) ยังได้คาดการณ์อนาคตว่า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรโลกในอีก 20 ปีข้างหน้า
อีกหนึ่งสิ่งที่น่ากังวลใจในอนาคตของอุตสาหกรรมการเกษตร คือ “กลุ่มวัยรุ่น หนุ่มสาวยุคใหม่ ๆ ที่หันมาเลือกทำอาชีพเกษตรหรือต้องการทำงานในฟาร์มมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด” เนื่องจากในปัจจุบันมีอาชีพที่สร้างรายได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความน่ากังวลใจเกี่ยวกับภาคเกษตรในอนาคตอันใกล้นี้
ความท้าทาย คู่แข่งในตลาด..

ภาคการเกษตรของไทยยังมีความท้าทายในอีกหลายด้าน เนื่องจากธุรกิจฟาร์มที่เฉลี่ยลดลงและข้อจำกัดด้านอายุของเกษตรกรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร จึงมีแนวโน้มสูงขึ้นจากในอดีต ในขณะที่ความต้องการผลิตผลด้านเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรหรือผู้ประกอบการจะต้องเปลี่ยนไปทำฟาร์มอัจฉริยะเพื่อช่วยในด้านแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต

ซึ่งจากผลสำรวจข้อมูลสำนักงานเศรฐกิจการเกษตร ในปี พ.ศ.2558 พบว่า จำนวนแรงงานเกษตรกรไทยมีอัตราลดน้อยลงในทุกภูมิภาค ตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2557 และ แรงงานในฟาร์มลดลงจาก 22.80 ล้านคน เป็น 17.78 ล้านคน แต่อย่างไรแล้ว อุตสาหกรรมการเกษตรก็ยังคงต้องเดินหน้าต่อไปเนื่องจากความต้องการผลผลิตและอาหารก็ยังเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของประชากรโลกอยู่ดี
การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นทางเลือกใหม่ในการเกษตรที่จะช่วยแก้ปัญหา ลดแรงงาน แบ่งเบาภาระและเป็นระบบนำร่องให้แก่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการเกษตร
“พบว่า ปัญหาที่ยากและท้าทายที่สุดที่ผู้ประกอบการเกษตรและเกษตรกรทุกรายต้องเผชิญนั้นก็คือ การดูแลและจัดการกับผลผลิต ที่ต้องมีการบริหารจัดการนานที่สุดและส่งผลต่อต้นทุนหรือรายได้ของเกษตรกรโดยตรง”

ซึ่งการทำฟาร์มอัจฉริยะจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม ถือเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ที่สามารถช่วยยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมการเกษตรไปอีกขั้นที่เหนือกว่า ทั้งช่วยลดจำนวนแรงงานลง และควบคุมต้นทุนการผลิตลง แล้วยังสามารถเพิ่มกำไรให้กับผลผลิตได้
ในแง่ข้อจำกัดในการทำฟาร์มเกษตร
ปัจจุบันผู้ประกอบการเกษตรบางรายเป็นเจ้าของฟาร์มขนาดเล็ก อาจจะมีข้อจำกัดในแง่ของการประหยัดต่อขนาดสำหรับการเข้าถึงทรัพยากรและเทคโนโลยี อีกทั้งยังขาดอำนาจในการต่อรองในตลาดที่มีห่วงโซ่อุปทาน และด้วยอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้นของตลาดโลก และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่วนใหญ่ที่จะส่งผลต่อผลผลิตและผลกำไรที่จะได้รับมีอัตราแนวโน้มต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
ผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะควรคํานึงถึงวิธีการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อทําให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ สามารถเพิ่มความสามารถในการสร้างสินค้าและบริการทางเกษตรที่มีคุณภาพ มีราคาที่เหมาะสม และมีความสะดวกรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสินค้าเกษตรในอนาคต

"Smart Farm เกษตรอัจฉริยะทางเลือกในอนาคตสำหรับเกษตรกร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลฟาร์มได้"
ตอนนี้การพัฒนาการทำฟาร์มอัจฉริยะ เป็นกำลังสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยของเราเองที่เป็นประเทศส่งออกผลผลิต ทั้งข้าว ผลผลิต วัตถุดิบต่างๆ ไปในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการเกษตรสามารถที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย มาประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์มากกว่าเดิมได้
เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ระบบ Smart Farm หรือ เกษตรอัจฉริยะ เป็นทางออกใหม่ สามารถช่วยผู้ประกอบการเกษตรสามารถจัดการบริหารระบบฟาร์ม วางแผนจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและดีกว่าเดิม พร้อมช่วยลดต้นทุนในการจ้างแรงงาน สร้างรายได้ที่มากขึ้น และเพิ่มกำไรให้กับผู้ประกอบการเกษตรได้ในอนคต
รอติดตามข้อมูลข่าวสาร อ่านบทความ สาระน่ารู้ อื่น ๆ เกี่ยวกับการทำฟาร์มเป็ด ไก่ ที่น่าสนใจ ได้ในตอนต่อไปอีกได้เลย..