Knowledge

แก้ปัญหาการทำฟาร์ม เลี้ยงไก่ เป็ด ด้วยการใช้ IoT

สมาร์ทฟาร์ม IOT แก้ปัญหาการเกษตร
ทุกวันนี้ เราจะเริ่มเห็นกันได้แล้วว่า Internet of Things หรือ IoT เป็นประโยชน์สำคัญในเกือบทุกด้านของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เกษตรกรรม การเงิน การโรงแรม การดูแลสุขภาพ การขนส่ง และอื่น ๆ อีกมากมายกัน

ซึ่งอีกหนึ่งเหตุผลที่ควรใช้โซลูชัน IoT ทำฟาร์ม เพื่อแก้ไขโซลูชัน ด้วยอุปกรณ์ IoT สามารถช่วยให้เจ้าของฟาร์มหรือผู้ประกอบการเกษตรเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ในการบริหารจัดการระบบฟาร์ม แถมช่วยประหยัดเวลาสามารถเอาชนะปัญหาด้วยการเข้าแก้ไข บำรุง ปรับปรุง ติดตามผ่านระบบทางไกล แทนที่จะใช้การทำฟาร์มแบบดั้งเดิม  แต่คำถามคือ เราจะเริ่มทำยังไง ?

IoT Solutions สามารถช่วยพัฒนาภาคการเลี้ยงสัตว์ปีก และสามารถช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนจากการเลี้ยงไก่ เป็ด จากระบบดั้งเดิม เป็นการเลี้ยงสัตว์ปีกอัจฉริยะด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูลสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ปีกใหม่ให้กับฟาร์มของเราได้ 

IoT ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง ในการทำฟาร์ม ?

เจ้าของฟาร์มหรือผู้ประกอบการเกษตร ต้องเผชิญหลากหลายปัญหาในการทำฟาร์ม ซึ่งมีหลายแง่มุมที่ต้องใช้ทั้งความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะในการทำฟาร์มขั้นสูง หากขาดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ไปอาจส่งผลให้ขาดผลตอบแทน และผลกำไรในการผลิตที่ควรจะได้รับที่มากกว่า ซึ่งการใช้โซลูชัน IoT ที่แม่นยำจะเข้ามาเป็นตัวช่วยผลักดันการทำฟาร์มให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ แล้วการทำฟาร์มอัจฉริยะ ด้วยการใช้อุปกรณ์ IoT จะได้รับประโยชน์อะไรที่ช่วยแก้ไขโซลูชั่นการทำฟาร์มได้บ้าง ตามมาดูกัน..

ตรวจสอบสุขภาพ และคุณภาพของไก่/เป็ด ภายในโรงเรือน

ไก่ เป็ด เป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่สำคัญ ที่เราบริโภคเป็นประจำกันในทุกวัน ซึ่งในการเลี้ยงไก่ หรือเป็ด ให้ได้ตามมาตรฐานของตลาด และทำให้ผลผลิตมีผลตอบแทนสูง ปัจจัยหลักสำคัญในการเลี้ยงไก่เป็ดให้มีคุณภาพนั้นขึ้นอยู่กับ สุขภาพและน้ำหนักของไก่เป็นหลักด้วย หากไก่ เป็ดได้รับปริมาณสารอาหารครบถ้วน มีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน  ก็จะส่งผลทำให้เติบโตตามน้ำหนักมาตรฐานที่คาดการณ์ไว้ตามที่ต้องการได้ แต่ถ้าหากจัดสรรสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม รวมถึงอุณหภูมิ ภายในฟาร์มไก่ เป็ด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพไก่ เป็ด ตามมาได้เช่นกัน

ปัญหาในการให้ปริมาณอาหารไก่/เป็ด

หากยังใช้ระบบฟาร์มแบบเก่าอยู่นั้น การติดตามปริมาณอาหาร ยังเป็นเรื่องยากสำหรับธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ด้วยปริมาณสัตว์เลี้ยงภายในฟาร์มที่อาจจะมีขนาดใหญ่ และที่มีจำนวนมาก เป็นเรื่องยากที่ผู้ประกอบการเกษตรจะวิเคราะห์ว่าไก่หรือเป็ดทุกตัวได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่ ซึ่งการใช้ระบบ IoT จะเข้ามามีบทบาทช่วยในการตรวจสอบว่าอาหารในสต็อคมีปริมาณคงเหลืออยู่ที่ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อป้องกันปัญหาอาหารช็อต ขาดสต็อค 

ตรวจสอบข้อมูลได้แบบเรียลไทม์

เจ้าของธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์สามารถรับข้อมูล และสามารถตรวจสอบผลผลิตได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งหมายความว่า เกษตรกรหรือเจ้าของฟาร์มจ้างทีมงานสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทุกเมื่อ ทุกเวลาที่ต้องการ ผ่านเครือข่ายบราวเซอร์ หรือแอปพลิเคชั่น บนอุปกรณ์ใดก็ได้ เช่น มือถือหรือคอมพิวเตอร์ และติดตามผลการผลิตว่าเป็นไปด้วยดีหรือไม่

ควบคุมต้นทุน ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า

ด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มหรืออุปกรณ์ IoT มีราคาค่อนข้างสูงในปัจจุบัน ทำให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ไว้ใจหรือยังไม่สนใจในการลงทุนการทำฟาร์มด้วยเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการบางส่วนคุ้นชินกับการใช้งานระบบเก่าๆ อยู่และยังกังวลว่าอาจจะจัดการได้ยุ่งยากมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ระบบ IoT ในการเลี้ยงสัตว์ปีก ซึ่งหากพิจารณาจริง ๆ เมื่อติดตั้งระบบ IoT แล้วสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในแง่ทั้งความสะดวกสบายในการควบคุมและจัดการทรัพยากรของการผลิตที่จะสามารถประเมินอัตรา ROI ให้ได้ผลกำไรมากยิ่งขึ้นได้

ได้ผลผลิตที่มากกว่าเดิม

อีกหนึ่งส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาในขั้นตอนการผลิตได้ด้วยการนำ IoT มาใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ส่งผลเชิงบวก เนื่องจากโซลูชัน IoT จะช่วยเร่งด้านกระบวนให้มีอัตราการผลิตที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี จะช่วยประหยัดเวลา ให้เกษตรกรไม่ต้องทำงานหนักหลายชั่วโมงในฟาร์ม แล้วสามารถเลี้ยงไก่ เป็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วกลายเป็นผลลัพธ์ที่นำมาสู่การได้ผลผลิตที่มากขึ้นกว่าเดิม

ในยุคที่เรากำลังเผชิญหน้ากับการพัฒนาด้านนวัตกรรมและการปฏิวัติทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาที่เราจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการทิ้งแนวคิดการทำฟาร์มแบบเดิม ๆ ไว้เบื้องหลัง แล้วนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้กับฟาร์มของเราให้ได้คุณภาพที่ดียิ่งกว่าเดิม

ห้ามพลาด สามารถรอติดตามข้อมูลข่าวสาร อ่านบทความ สาระน่ารู้ ก่อนใคร เกี่ยวกับการทำฟาร์ม ที่น่าสนใจได้ผ่าน Smartfarmpro.com ที่เดียว 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง :

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *