Knowledge

5 ข้อดี เปลี่ยนฟาร์มไก่ เป็ด ธรรมดาให้เป็นระบบสมาร์ทฟาร์ม

ข้อดีเปลี่ยนฟาร์มธรรมดาให้เป็นระบบสมาร์ทฟาร์ม

     เปลี่ยนระบบการทำฟาร์มไก่ เป็ดแบบเดิม ๆ ที่คุ้นเคย ด้วยเทคโนโลยีใหม่อย่างระบบสมาร์ทฟาร์ม”  ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการบริการฟาร์มปศุสัตว์ได้ดียิ่งขึ้น  สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ ด้วยการใช้เทคโนโลยี IoT เข้ามาช่วยเหลือการทำฟาร์ม ซึ่งตัวระบบนี้จะช่วยสำรวจ ควบคุมการเลี้ยงดูสัตว์ภายในฟาร์มได้เป็นอย่างดี ช่วยตอบโจทย์เกษตรกรยุคใหม่ หรือฟาร์มสเกลระดับใหญ่ ๆ ที่ต้องการเพิ่มความสะดวกสบายในการบริหารฟาร์มผ่านระบบทางไกล ซึ่ง ระบบสมาร์ทฟาร์มสามารถช่วยติตตาม สังเกตการณ์ สถานการณ์ภายในฟาร์มได้ 

การใช้ระบบสมาร์ทฟาร์ม จะช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน แล้วมอบประสบการณ์การทำฟาร์มรูปแบบใหม่ให้กับผู้ประกอบการเกษตรและธุรกิจการทำฟาร์มให้ดูแลได้อย่างครบวงจรได้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยการนำอุปกรณ์ IoT การใช้เซ็นเซอร์ เครื่องจ่ายอาหาร หรือเครื่องวัดอุณหภูมิ ที่สามารถควบคุมผ่านมือถือ หรือแอปพลิเคชั่นได้เองเลย ซึ่งข้อดี หลัก ๆ ของระบบ IoT คือ เราสามารถติดตามสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มได้ทันที การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะเป็นประโยชน์ให้ เพิ่มความสะดวกสบายใช้งานและสังเกตข้อมูลแบบเรียลไทม์ให้กับธุรกิจเกษตร รวมถึงกระจายอาหารให้กับสัตว์ภายในฟาร์มได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น  

“ข้อดี” ของการเปลี่ยนฟาร์มไก่ เป็ด ให้เป็น “ระบบสมาร์ทฟาร์ม”

ติดตามผล ตรวจสอบข้อมูลไก่ เป็ด ได้แบบเรียลไทม์

ผู้ประกอบการเกษตรสามารถใช้ประโยชน์จากระบบสมาร์ทฟาร์มในการติดตามผล ข้อมูล และตรวจสอบเงื่อนไขที่ต้องการตั้งค่าให้ระบบทำงานอัตโนมัติได้ นอกจากนี้ ยังสามารถจับจำนวนไก่ที่เป็นหรือตายภายในเล้า และสำรวจตรวจสอบสุขภาพไก่ เป็ด ในตำแหน่งที่วางไว้ได้ โดยใช้ตัวเซ็นเซอร์อุปกรณ์ที่วางไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก โดยเซ็นเซอร์จะสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของไก่ หรือเป็ดในเล้าได้ ซึ่งตัวอุปกรณ์จะรวบรวมผลข้อมูลน้ำหนัก ไก่ เป็ด รายวันแบบเรียลไทม์ แล้วส่งไปยังแพลตฟอร์มสมาร์ทฟาร์ม โดยข้อมูลจะแสดงผ่านเว็บแดชบอร์ดหรือแอปมือถือของผู้ประกอบการเกษตรนั่นเอง

ตั้งค่าให้จ่าย และสั่งอาหารอัตโนมัติ

ปัญหาที่เราพบในฟาร์มปศุสัตว์ของระบบฟาร์มเก่า คือ “อาหารขาดสต็อค” ซึ่งหากผู้ประกอบการใช้เครื่องฟีดอาหารอัตโนมัติ จะช่วยแสดงปริมาณอาหารคงเหลือให้เจ้าของฟาร์มทราบโดยอัตโนมัติหากปริมาณหมด ไม่ต้องรอให้อาหารหมดสต็อคก่อน สามารถควบคุมปริมาณ และลดการให้อาหารไก่ เป็ด เกินความจำเป็นได้ 

การใช้เครื่อง Feed อาหารจะช่วยให้เจ้าของฟาร์มสามารถตรวจสอบระดับปริมาณอาหารคงเหลือภายในสต็อคได้ตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มสมาร์ทฟาร์ม สามารถจ่าย และกระจายอาหารตามปริมาณสัดส่วนที่พอดีให้กับสัตว์ปีกในฟาร์มได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง นอกจากนี้ ระบบยังช่วยในเรื่องของการประมาณการณ์วันสั่งอาหารล่วงหน้าให้กับไก่ เป็ด ภายในเล้าได้อีกด้วย เจ้าของฟาร์ม หรือคนฟาร์มมาตรวจสอบว่าปริมาณอาหารยังคงเหลือเพียงพอ  โดยไม่ต้องรอให้อาหารหมดสต็อคก่อน เพื่อตัดปัญหาอาหารขาดสต็อคไปได้ และลดการสูญเสียของอาหารเหลือทิ้ง

วางแผนการจัดการไก่ เป็ด และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า (Save Cost)

การเปลี่ยนระบบการบริหารฟาร์มปศุสัตว์มาเป็นระบบการจัดการแบบสมาร์ทฟาร์ม ช่วยให้เราบริหารติดตาม จัดการกับทรัพยากร จำนวนไก่ เป็ด ภายในฟาร์มได้ดีขึ้น ยิ่งหากมีฟาร์มขนาดใหญ่การดูแลในโรงเรือนอาจจะทำการจัดการได้ยากกว่าเดิม ต้องใช้แรงงานคนฟาร์มจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงตลอดทั้งฟาร์ม ระบบสมาร์ทฟาร์มจะช่วยวิเคราะห์ปริมาณอาหารภายในเล้า กระจายอาหาร และตรวจสอบสุขภาพของไก่ เป็ด รวมถึงสามารถทราบถึงวันกำหนดการวางไข่ไก่ ก่อนถึงกำหนดได้ ตรงนี้จะเป็นข้อได้เปรียบสำคัญที่ช่วยให้คุณคาดคะเนว่าสามารถนำตัวระบบตรงนี้มาวางแผนประเมินการจัดการฟาร์มในอนาคต สามารถกำหนดการใช้งาน วางแผนการทำฟาร์ม รวมถึง การวางระบบติดตั้งวางแผนการใช้งานระบบ 

ตรวจสอบปริมาณอาหารว่าไก่ เป็ด ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ

ระบบสมาร์ทฟาร์มจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการการทำฟาร์มให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้กว่าเดิม ด้วยระบบกึ่ง AI จะเข้าไปช่วยในส่วนของการกระจายอาหารให้ไก่และเป็ด ได้อย่างมีคุณภาพ เมื่อไก่ เป็ดได้รับปริมาณอาหารในปริมาณที่พอดี ก็จะได้ผลผลิตที่ดีตามมา แล้วยังสามารถใช้เพื่อวัดได้ว่า ไก่ เป็ด ทุกตัวสามารถกินอาหารได้ในปริมาณที่พอดีหรือไม่ในแต่ละวัน ส่งผลดีในตัวไก่ เป็ด ที่จะออกไข่ที่ได้คุณภาพมากกว่าเดิม 

สำรวจตรวจสอบน้ำหนัก ไก่ เป็ดได้ตลอดเวลา

เราสามารถใช้ระบบแพลตฟอร์มสมาร์ทฟาร์มเข้าไปตรวจสอบน้ำหนัก ไก่ เป็ด ได้ตลอดเวลา เมื่อไก่ขึ้นหรือลงระบบตาชั่งไก่จะแสดงค่าน้ำหนักที่เปลี่ยนไป ผู้ประกอบการเกษตรสามารถตรวจสอบดูน้ำหนักไก่เวลาขึ้นหรือลงตราชั่งได้แบบรายชั่วโมง ซึ่งสามารถใช้ตราชั่งรับข้อมูลที่เป็นตัวแทนของไก่ท้ังเล้าได้ หรือถ้าฟาร์มไหนมีขนาดไซส์โรงเรือนที่ใหญ่มาก ๆ แพลตฟอร์มมีระบบความเร็วสูงและใช้กึ่ง AI เข้ามาช่วยคิด และตัดสินใจแทนเราเองได้เลย ข้อดีตรงนี้จะช่วยให้คนในฟาร์มสามารถไปรับผิดชอบหน้าที่อื่นได้ดีขึ้นกว่าเดิม น้ำหนักจะได้เท่าไหร่ น้ำหนักที่ได้จะเป็นน้ำหนักรายตัว การวัดไข่ไก่แล้ว เอาจำนวนข้อมูลน้ำหนักมาคำนวณ เพื่อดูการกระจายตัวค่าน้ำหนักของไก่ เป็ด ภายในเล้าได้

“จุดเด่นของระบบสมาร์ทฟาร์ม” คือ สามารถเข้าไปเช็คข้อมูลภายในฟาร์มในระบบได้ทันทีเลย ลดขั้นตอน ความยุ่งยาก เจ้าของฟาร์มสามารถติดตาม และลดแรงงาน สามารถนั่งตรวจสอบข้อมูลได้เลย ซึ่งหากระบบเป็นตัวระบบเซนเซอร์สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นคลาวน์ได้ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ Smart Farm ทั้งหมดได้ และจัดการฟาร์มได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *