อาหารที่เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้สัตว์เลี้ยงเจริญเติบโตและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยเจ้าของฟาร์มจะต้องเสียต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 60-70% ซึ่งส่งผลต่อกำไรของฟาร์มโดยตรง หากผู้เลี้ยงหรือเจ้าของฟาร์มสามารถบริหารจัดการสต็อคอาหารที่มีอยู่ให้คุ้มค่า ก็จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้ โอกาสที่จะสร้างกำไรให้กับธุรกิจฟาร์มของเราให้เติบโต
4 วิธีบริหารสต็อคอาหารในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพที่ช่วยลดต้นทุน..
1. วางแผนการให้อาหารอย่างรัดกุม
- กำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
เจ้าของฟาร์มควรศึกษาข้อมูล คำนวณความต้องการทางโภชนาการของสัตว์เลี้ยงแต่ละช่วงวัย โดยพิจารณารวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น สายพันธุ์ เพศ น้ำหนัก อายุ เป็นต้น หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการสัตว์เพื่อวางแผนการให้อาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เลือกอาหารที่มีคุณภาพเหมาะสมกับความต้องการของสัตว์
ซึ่งการเลือกอาหารที่มีส่วนผสมจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพจะช่วยลดปริมาณการให้อาหารและเพิ่มประสิทธิภาพให้สัตว์เจริญเติบโตตามตามช่วงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงก่อนซื้ออาหารควรตรวจสอบ เปรียบเทียบราคาและคุณภาพของอาหารจากผู้ผลิตแต่ละเจ้าก่อนอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ
- จัดตารางการให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ
เจ้าของฟาร์มควรมีการวางแผน กำหนดเวลาให้อาหารที่แน่นอน ควรแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อย และปรับตารางการให้อาหารตามความจำเป็น
- ติดตามและประเมินผลการให้อาหารอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ควรสังเกตสุขภาพ ความเป็นอยู่ของสัตว์ภายในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมติดตามตรวจสอบปริมาณอาหารที่เหลือ แล้วปรับแผนการให้อาหารตามความเหมาะสมเพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้ง
2. ควบคุมปริมาณอาหาร
- ใช้วิธีการให้อาหารแบบอัตโนมัติ
ฟาร์มขนาดกลาง-ใหญ่ ควรมีการติดตั้งเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ เพื่อควบคุมปริมาณการให้อาหารในแต่ละวัน แล้วตั้งค่าปริมาณอาหารได้อย่างคงที่ ที่จะช่วยลดปริมาณการให้อาหารที่เกินจำเป็นได้ สามารถควบคุมต้นทุนค่าอาหารได้ง่ายขึ้น
- ตรวจสอบอุปกรณ์ให้อาหารอยู่เสมอ
คนดูแลฟาร์มควรมีการตรวจสอบรางให้อาหาร ถังน้ำ ถังอาหาร อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาอุปกรณ์ให้อาหารชำรุด เมื่อเกิดปัญหา ปริมาณสัตว์ในฟาร์มมีจำนวนมาก ทำให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารได้ไม่ทั่วถึง เจ้าของฟาร์มสามารถแก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดได้ทันที
- เก็บอาหารในที่อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ควรรักษาเก็บอาหารในที่แห้ง เย็น มิดชิด ป้องกันอาหารจากแสงแดด แมลง สัตว์รบกวน และดูแลทำความสะอาดพื้นที่เก็บอาหารเป็นประจำ เพื่อคงคุณภาพอาหารให้คงที่
3. หมุนเวียนสต็อคอาหารเก่า-ใหม่
- ใช้อาหารเก่าก่อนอาหารใหม่
ควรตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารก่อนว่ามีอายุถึงวันไหน ใช้ได้ถึงวันไหน เพื่อวางแผนป้องกันการสั่งอาหารมาเกินสต็อคที่กำหนด ควรใช้อาหารเก่า ก่อนสั่งอาหารใหม่ เพื่อลดค่าต้นทุนค่าอาหารที่เสียทิ้งไปโดยเปล่า
- กำจัดอาหารเก่าที่เสื่อมสภาพ
แต่เมื่อถึงเวลาที่อาหารเริ่มส่งกลิ่นเหม็น ขึ้นรา หรือเสื่อมสภาพแล้ว เจ้าของฟาร์มควรกำจัดอาหารที่หมดอายุให้หมดก่อนที่สัตว์กินเข้าไป ซึ่งเมื่อสัตว์กินอาหารเก่าเข้าไปอาจจะส่งผลต่อสุขภาพสัตว์โดยตรง ทำให้ได้ผลผลิตออกมาไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ขายไม่ได้กำไร แถมอาจจะขาดทุน
4. ใช้ระบบ SmartFarmPro ช่วยจัดการ
- ช่วยบริหารจัดการสต็อคอาหาร
การติดตั้งโปรแกรม SmartFarmPro จะช่วยเข้ามาช่วยบริหารจัดการ บันทึกข้อมูลการเข้า-ออกของอาหารภายในฟาร์ม เจ้าของฟาร์มสามารถวางแผนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการสั่งซื้ออาหารล่วงหน้า พร้อมบริหารจัดการสต็อคอาหารได้ง่ายขึ้น
- ตรวจวัดปริมาณอาหารด้วยเซนเซอร์
เจ้าของฟาร์มสามารถจัดการสั่งซื้ออาหารได้อย่างทันที โดยเซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งถังไซโล จะช่วยแจ้งเตือนให้เจ้าของฟาร์มทราบผ่านระบบ SmartFarmPro เมื่อปริมาณอาหารใกล้หมด โดยที่เจ้าของฟาร์มไม่ต้องเดินทางเข้าไปตรวจวัดที่ถังไซโล ชที่หน้าฟาร์มเอง หมดปัญหาเรื่องจัดการอาหารขาดสต็อค
หากเจ้าของฟาร์มท่านไหนที่กำลังสนใจอยากติดตั้งระบบ SmartFarmPros หรืออุปกรณ์ SiLOG Sensor อัจฉริยะติดถังไซโล เพื่อตรวจสอบอาหารคงเหลือ พร้อมจัดการเรื่องสต็อคอาหาร ไว้ใช้งานภายในฟาร์มสามารถติดต่อสอบถาม/ปรึกษา กับทีมงานได้ ฟรี! ทันทีแอดไลน์ @SmartFarmPro หรือ คลิก https://lin.ee/hzWtcek