รู้-รับ-ปรับ-เปลี่ยน! พร้อมแนะนำ 3 เทคนิคใช้ Data เพื่อแก้ปัญหา เปลี่ยนผลลัพธ์คุณภาพฟาร์ม พร้อมเพิ่มผลกำไร สิ่งสำคัญ คือ เจ้าของฟาร์มมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเลี้ยงดู พัฒนาพร้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อหาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพของฟาร์มให้ดียิ่งขึ้น
รวบ 3 เทคนิคใช้ Data ในการวางแผนบริหารจัดการฟาร์ม เพื่อเปลี่ยนผลลัพธ์ให้ดีขึ้น ..
1. ใช้ Data ในการวางแผน แก้ปัญหาการจัดการ

การนำ Data เข้ามา ช่วยให้เจ้าของฟาร์มเข้าใจการเลี้ยงได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น จากปัญหาที่แก้ไม่ได้อาจจะเจอข้อมูลบางส่วนที่เป็นเหมือนกับจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ขาดหายไปแล้วนำมาปรับใช้ เข้ามาช่วยวางแผนจัดการได้อย่างรอบด้านและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
- ข้อมูลสภาพแวดล้อม: อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ระดับแอมโมเนีย
- ข้อมูลสัตว์: สุขภาพ น้ำหนัก อัตราการเจริญเติบโต อัตราการตาย
- ข้อมูลการผลิต: ปริมาณอาหาร น้ำ ปริมาณไข่ อัตราการแปลงอาหาร
- ข้อมูลการตลาด: ราคาไข่ไก่ ความต้องการของตลาด
เมื่อรวบรวม Data ทั้งหมดได้แล้วก็จะช่วยพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ให้ตรงตามมาตรฐานยิ่งขึ้น
เคสตัวอย่าง:
เจ้าของฟาร์มรายหนึ่งใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่างในโรงเรือน ผลการวิเคราะห์ Data พบว่าอุณหภูมิในโรงเรือนสูงเกินไป เจ้าของฟาร์มจึงติดตั้งระบบระบายอากาศเพิ่มเติม ผลลัพธ์คือ อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ในระดับที่เหมาะสม น้ำหนักไก่เพิ่มขึ้น อัตราการตายของไก่ลดลง
2. ใช้ Data ในการวิเคราะห์การเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน

การเลี้ยงไก่ให้ได้มาตรฐาน คือ การเลี้ยงไก่ที่มีสุขภาพดี เจริญเติบโตได้ดี ผลผลิตสูง และปลอดภัยต่อผู้บริโภค เกษตรกรสามารถใช้ Data วิเคราะห์การเลี้ยงไก่เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสในการพัฒนาฟาร์ม
เคสตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์การเลี้ยงให้ได้ตามมาตรฐาน
- ใช้ Data ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต่างๆ เช่น อุณหภูมิกับสุขภาพไก่ ปริมาณอาหารกับน้ำหนักไก่
- วิเคราะห์ Data เพื่อระบุปัญหา เช่น อุณหภูมิที่สูงเกินไป น้ำหนักไก่ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
- ใช้ Data วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เช่น ควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน ปรับสูตรอาหารให้ตรงตามมาตรฐาน
3. ใช้ Data ในการปรับปรุงพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ

ซึ่งเราสามารถนำ Data เข้ามาช่วยพัฒนาการเลี้ยงไก่ ให้ได้มาตรฐาน พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มกำไร แถมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ด้วย
ตัวอย่างผลลัพธ์การใช้ Data ในการปรับปรุง:
- อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ที่ระดับที่เหมาะสม
- น้ำหนักไก่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- อัตราการตายของไก่ต่ำ
- ปริมาณไข่ไก่เพิ่มขึ้น
- ต้นทุนการเลี้ยงไก่ลดลง
- ราคาไข่ไก่ดีขึ้น
การใช้ Data ในการวางแผนก่อนบริหารจัดการฟาร์มจะช่วยให้เจ้าของฟาร์มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูลที่นำทาง ช่วยลดความเสี่ยงในการจัดการบริหารอย่างไม่ถูกวิธีและเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจฟาร์มให้ประสบความสำเร็จ เจ้าของฟาร์มควรศึกษาข้อมูล เรียนรู้วิธีการใช้ Data และนำ Data ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเปลี่ยนผลลัพธ์คุณภาพฟาร์มให้ดีขึ้นกว่าเดิม