ฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm เทรนด์ของการทำเกษตรสมัยใหม่ ให้สามารถใช้ประโยชน์และปรับปรุงผลผลิตด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีนำ IoT, Big Data หรือ Cloud มาแก้ปัญหาด้านการเกษตรในการจัดการฟาร์มให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
โลกของเรามีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ตอนนี้เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหลายอย่างในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบัน ทุกอุตสาหกรรมเริ่มขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีกันมากขึ้น ซึ่งตัวระบบ IoT สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเกษตรหรือเกษตรกรควบคุมกระบวนการเลี้ยงปศุสัตว์ และได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ผ่านระบบทางไกล ด้วยการใช้อุปกรณ์ IoT ในการทำเกษตร ทำให้สามารถคาดการณ์และปรับปรุงประสิทธิภาพฟาร์มให้ก้าวหน้าต่อไปได้

เมื่อประชากรในโลกมีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คำถามก็คือ ความต้องการด้านอาหารก็ต้องสูงตามขึ้นไปด้วย ใช่หรือไม่ ? ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมการเกษตรโดยตรง นวัตกรรมของการเกษตรสมัยใหม่ หรือ เกษตรอัจฉริยะ จึงมีส่วนสำคัญที่จะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำเกษตรจากรูปแบบเดิม
“ในขณะเดียวกันตอนนี้ด้วยขนาดของตลาด Smart farm ทั่วโลก คาดว่า จะมีอัตราแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าภายในปี 2568”
เนื่องจากตลาด IoT ยังคงกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ตอนนี้ ซึ่งผู้ประกอบการเกษตรยังคงมีโอกาสเพียงพอ ในการเริ่มต้นทำสมาร์ทฟาร์มด้วยการใช้งานอุปกรณ์ IoT ตรงนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สามารถสร้างความแตกต่างจากการเป็นผู้เริ่มใช้งานระบบ Smart farm ก่อนใครได้ในช่วงต้น เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยให้ผู้ประกอบการเกษตรปูทางการทำฟาร์มสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต

IBM หรือ International Business Machines บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกายังได้คาดการณ์ไว้ว่า “การใช้เทคโนโลยี IoT จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มอัตราการผลิตได้ถึง 70%” ภายในสิ้นปี 2050
อนาคตอีกไม่กี่ปีช้างหน้าเราอาจจะได้เห็นว่าอุปกรณ์ IoT จะเข้ามากลายเป็นตัวช่วยสำคัญในแง่ของการแก้ปัญหาที่ผู้ประกอบการเกษตรพบเจออยู่เป็นประจำ และสามารถสร้างมาตรฐานคุณภาพการผลิตที่เหนือกว่าคู่แข่งได้ในอนาคต
เทคโนโลยี Smart Farm อุตสาหกรรมร่วมสมัยใหม่เข้ามาช่วยให้กระบวนการทำเกษตรง่ายมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการทำฟาร์มอัจฉริยะ จะช่วยให้ผู้ประกอบการเกษตรหรือเกษตรกรเข้าถึงปัจจัยสำคัญภายในฟาร์มต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ด้วยตัวระบบที่สามารถกำหนดการใช้ทรัพยากร ตรวจสอบปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตได้ สามารถปรับอัตราการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมให้กับผู้ประกอบการเกษตรหรือเกษตรกรได้ แต่การทำฟาร์มอัจฉริยะจะมีประโยชน์อะไรอีกบ้างเมื่อเทียบกับวิธีการทำฟาร์มแบบทั่วไป ตามมาดูกัน
เพิ่มประสิทธิภาพทางเกษตรกรรมด้วยกระบวนการอัตโนมัติ
ด้วยการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ สามารถควบคุมทุกกระบวนการให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติตลอดวงจรการผลิตได้ เสริมสร้างประสิทธิภาพลดเวลาโดยไม่ต้องเดินทางไปพื้นที่ฟาร์มเอง
การจัดการต้นทุนและควบคุมการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ระบบจัดการด้วยระบบ IoT มีความสามารถในการตรวจสอบความผิดปกติของสัตว์ภายในฟาร์ม สามารถลดความเสี่ยงของการสูญเสียผลผลิตได้
ปรับปรุงคุณภาพและปริมาณของผลผลิตได้
เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมที่ดีขึ้นในกระบวนการผลิต รักษามาตรฐาน คุณภาพของผลผลิต และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเติบโตที่สูงขึ้นผ่านระบบอัตโนมัติได้
ควบคุมกระบวนการภายในได้ดีขึ้นและส่งผลให้ความเสี่ยงในการผลิตลดลง
ด้วยตัวระบบมีส่วนช่วยในการคาดการณ์ผลผลิตล่วงหน้า ทำให้สามารถวางแผนการกระจายผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น ตรงนี้เป็นความได้เปรียบสำคัญ ซึ่งหากเราสามารถประเมินผลผลิตล่วงหน้าได้ ทำให้สามารถประเมินผลลัพธ์ล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที
ตอนนี้ระบบ Smart Farm ยังคงสร้างความท้าทายให้กับเจ้าของฟาร์มเกษตรกรบางรายที่คุ้นชินกับการทำเกษตรรูปแบบดั้งเดิมอยู่ ยังพบว่ายังคงเป็นเรื่องยากในการประยุกต์เกษตรสมัยใหม่ด้วยการนำปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยียังเป็นเรื่องที่เข้าถึงยาก และยังเข้าไม่ถึงเกษตรกรรายย่อย ด้วยการแข่งขันของตลาดที่สูงขึ้นทำใหผลผลิตการเกษตร ลดความซับซ้อน ที่จะมาช่วยเหลือผู้ประกอบการเกษตรในการสร้างความแตกต่างให้เหนือกว่าคู่แข่งในการทำฟาร์มได้