Knowledge

CKALE คืออะไร ? มาทำความรู้จักกัน

CKALE คืออะไร ทำความรู้จักตาชั่งน้ำหนักไก่ เป็ดอัตโนมัติ
ปกติแล้วฟาร์มไก่ เป็ด ทั่วไปจะต้องมีการสุ่มชั่งน้ำหนักไก่ จํานวน 3-5 % เป็นประจำทุก ๆ สัปดาห์ และเริ่มชั่งลูกไก่เมื่ออายุครบ 4 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับน้ําหนักมาตรฐาน ถ้าน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ก็กำหนดปริมาณอาหารเพิ่มขึ้น ถ้าน้ําหนักสูงเกินมาตรฐานไปมากกว่า 12 % ช่วยชะลอการเพิ่มอาหาร ในสัปดาห์ต่อไป แต่ไม่ใช่การลดจำนวนอาหารลงจากที่ให้อยู่ในช่วงนั้น ๆ

ประโยชน์ ความสำคัญของ CKALE หรือตราชั่ง น้ำหนัก ไก่/เป็ด

เลือกช่วงน้ำหนักของสัตว์ คำนวณหาเปอร์เซนต์น้ำหนักสัตว์ และตรวจสอบอัตราการสูญเสียสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเวลาที่ต้องการดูน้ำหนักเริ่มต้นและสิ้นสุดได้ ประเมินอัตราน้ำหนักล่วงหน้าได้ 

ช่วยประเมินน้ำหนักให้ตรงตามมาตรฐานที่วางแผนไว้ สามารถตรวจสอบค่าน้ำหนักได้ โดยผลจะแสดงอยู่ที่หน้าจอดิจิตอลและหน้าเว็ปไซต์ ซึ่งเราสามารถมอนิเตอร์เพื่อตรวจสอบน้ำหนักได้ตลอดเวลา โดยสุ่มจากตัวแทนไก่ที่ขึ้นตราช่างเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อตรวจเช็คน้ำหนักที่คาดว่าได้ตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ? ซึ่งตัวระบบนี้ข้อดีคือ ช่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับไก่โดยตรง ช่วยป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับคนงานในฟาร์มหรือเจ้าของฟาร์มได้ 

ความสามารถของ CKALE ทำอะไรได้บ้าง ?

แสดงผลข้อมูลของตาชั่ง (Weight Scale Information)

สามารถเลือกดูน้ำหนักทั้งขาขึ้นและขาลงตาชั่ง สามารถเลือกดูน้ำหนักเริ่มต้น และสิ้นสุดผลน้ำหนัก ให้สามารถตรวจสอบน้ำหนัก ทั้งขาขึ้นและขาลงได้ ช่วยให้สามารถช่วยให้สามารถตรวจสอบค่าน้ำกนักแบบเรียลไทม์ได้

แสดงข้อมูลน้ำหนักเฉลี่ยรายชั่วโมง (Average Hourly Weight)

กราฟแท่งแสดงข้อมูลน้ำหนักเฉลี่ยรายชั่วโมงและตาชั่ง กราฟแสดงข้อมูลระหว่างกลุ่มเป้าหมาย (target) และข้อมูลจริง (Actual) ของชุดข้อมูล สามารถเช็คข้อมูลผ่านระบบเว็ปไซต์ได้ เพื่อดึงข้อมูลในระบบมาประเมินค่า 

แสดงผลรวมน้ำหนักทั้งหมด (Weight Results)

ข้อมูลกราฟแท่ง เปรียบเทียบทุกตาชั่ง ระบบจะแสดงข้อมูลปริมาณการใช้อาหารรายวัน ช่วยเปรียบเทียบปริมาณคงเหลือ ปริมาณการกิน รวมไปถึงปริมาณการเติมอาหารภายในเล้า เลือกข้อมูลเพื่อเรียกถังอาหารที่ต้องการดูข้อมูล รูปแบบกราฟที่ต้องการดูข้อมูล แล้วสามารถกดดาวน์โหลดเป็นไฟล์ excel เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้  

แสดงผลรวมน้ำหนักทั้งหมด (Weight Results)

นอกจากนี้ ยังสามารถอ่านค่าข้อมูลบนเครื่อง Climate เพื่อดูข้อมูลสภาวะแวดล้อมการเลี้ยงภายในเล้าได้ โดยระบบจะอ่านจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในเล้า แบบเรียลไทม์ อุปกรณ์จะแสดงผลข้อมูลผ่านเว็ปไซต์ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมการเลี้ยงในการวัดค่าต่าง ๆ  เช่น อุณหภูมิ, ความชื้น,คาร์บอนไดออกไซด์, ความดันลม, แอมโมเนีย, แสงสว่าง, ความเร็วลม, การใช้น้ำ ค่าต่างๆ ภายในเล้าที่สามารถเอามาประเมินค่าได้

กราฟแสดงน้ำหนักเฉลี่ยต่อหน่วยของตาชั่งรวม (Weight Per Unit)

Demand ช่วยแสดงข้อมูลการใช้อาหาร และแผนการสั่งเติมอาหารในถังอาหารแต่ละเล้า ช่วยประเมินจากผลตารางที่แสดงข้อมูลความต้องการเติมอาหารแต่ละเล้า จัดลำดับการสั่ง-เติมอาหารผ่านระบบ ในรูปแบบของวัน หมดปัญหาอาหารหมดถัง สามารถประมาณการน้ำหนักของสัตว์ล่วงหน้าได้ โดยประมาณจากข้อมูลน้ำหนักจริง ในทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงและอัปเดตข้อมูล ระบบจะช่วยเปรียบเทียบข้อมูลในกราฟจากอัตราส่วนที่คงเหลือของปริมาณอาหารภายในเล้าได้ 

กราฟเส้นแสดงอัตราการกระจายน้ำหนัก (Distribute Rate)

Distribute Rate จะแสดงข้อมูลที่ตั้งค่าของเล้า มาตรฐานแผนการเลี้ยง ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นการเลี้ยง จนถึงวันที่สิ้นสุดการเลี้ยง ยังสามารถเปรียบเทียบระหว่างตาชั่งภายในเล้า แล้วกดเลือกดูน้ำหนักสัตว์ที่ขึ้นชั่งได้ เจ้าของฟาร์มสามารถดูปริมาณเปรียบเทียบน้ำหนักของสัตว์เลี้ยงภายในเล้า เพื่อคำนวณค่าอัตราการกระจายน้ำหนัก 

ประเมินขนาดจริงล่วงหน้า (Estimated Real Size)

ผลจะแสดงการประมาณการณ์ขนาดของสัตว์ S, M, L ที่ตั้งไว้ว่า demand ที่ประเมินไว้เป็นไปตามผลลัพธ์ในรูปแบบกราฟและตาราง แสดงตารางข้อมูลความต้องการเติมอาหารแต่ละเล้า เช็คถัง Silo ถังอาหารที่ต้องเติม ปริมาณอาหารที่ต้องการเติม วันที่ที่ต้องเติมอาหาร กำหนดล่วงหน้าได้ถึง 3 วัน

เพื่อการทำบันทึกรายงานต่าง ๆ ในระบบ เพื่อติดตามตรวจสอบ การเลี้ยงไก่ และไก่ไข่ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และแบบแผนที่วางไว้ตั้งแต่วันที่เริ่มเลี้ยงจนถึงวันที่สิ้นสุดการเลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการทำรายงานบันทึกผลการชั่งน้ำหนัก จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบและประเมินข้อมูลว่าผลลัพธ์ได้ตรงตามที่ต้องการหรือไม่

อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง :

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *